Por : Technical Analysis

ตลาดหลักทรัพย์ไทย

สงครามการค้าตัวแปรการลงทุน
ท่ามกลางปัญหาการเมืองในประเทศที่ขาดความชัดเจนและสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐที่ยืดเยื้อ ล้วนเป็นปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่นในตลาดทุน แรงซื้อที่มีเข้าในช่วงปลายสัปดาห์ หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,614.12 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.01 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 5 หมื่นล้านบาท ต่างชาติแม้จะเริ่มกลับมาซื้อสุทธิแต่ทิศทางยังไม่แน่นอน ตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับมาปิดบวกด้วยความหวังว่าการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐจะได้ข้อยุติ

ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์และรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่มีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,597 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,667 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) โดยดัชนีตลาดมีเป้าหมายของคลื่น (iii) อยู่ที่ 1,820 จุด

จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับของ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,599 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น In-neck pattern ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง สัญญาณทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นบวกเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,630 จุด และดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่ 1,642 จุด ซึ่งเป็นแนวต้านสำคัญในระยะสั้น ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือแนวต้านนี้

สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ระยะสั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวออกด้านข้างภายในกรอบ 1,597 – 1,667 จุด สัญญาณ Bullish Divergence อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าดัชนีตลาดก้าวเข้าสู่ช่วงปลายตลาดขาลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,622 – 1,628 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,608 – 1,599 จุด

กลยุทธ์การลงทุน
สัญญาณ Bullish Divergence เตือนถึงช่วงปลายตลาดขาลง นักลงทุนควรมีพอร์ตการลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน 80 เปอร์เซ็นต์ และถือเงินสด 20 เปอร์เซ็นต์
Trend AnalysisWave Analysis

Wyłączenie odpowiedzialności