Por : Technical Analysis

ตลาดหลักทรัพย์ไทย

ขาดปัจจัยบวก
บรรยากาศการซื้อขายหลักทรัพย์ยังคงซบเซา ตลาดขาดปัจจัยบวกที่จะมาขับเคลื่อน แต่สัญญาณ Bullish Divergence ถือเป็นสัญญาณทางเทคนิคัลที่แสดงถึงปลายตลาดขาลง ดัชนีตลาดปิดที่ 1,537.78 จุด เพิ่ม 0.15 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.9 หมื่นล้านบาท ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดีที่ 29 ตลาดปิดในแดนบวกขานรับการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดไว้ที่ 0.00 – 0.25 เปอร์เซ็นต์ และคงนโยบายซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)

ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆ หลังดัชนีปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,530 จุด เกิดแท่งเทียนเป็น Harami ขาลงเป็นครั้งที่สองในเขตขายมากเกิน สัญญาณ DMI แสดงถึงการปรับตัวลง ขณะที่สัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ยอดที่สอง (กรณีที่เกิดยอดที่สามควรเข้าซื้อ) ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนียืนปิดเหนือแนวต้านของเส้น MMA2 ที่ 1,580 จุด

จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,530 จุด และกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,529 จุด การนับคลื่นปรับ (Collective wave) จะต้องนับใหม่ เนื่องจากคลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping (ใช้ราคาปิดเป็นตัววิเคราะห์)

สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ สัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ยอดที่สอง กรณีที่เกิดยอดที่สามจะเป็นสัญญาณซื้อ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,547 – 1,558 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,529 – 1,519 จุด

กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และในกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,535 จุด ควรปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดเพิ่มอีก 10 เปอร์เซ็นต์

#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Trend AnalysisWave Analysis

Wyłączenie odpowiedzialności